วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่  7
วันพุธ  ที่ 21 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)


เนื้อหาที่เรียน
        ศึกษาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยา  ในวันนี้อาจารย์ได้นัดหมายให้นักศึกษามาไม่เกิน 8.00 น.  เมื่อถึงเวลาถึงทำกิจกรรมหน้าเสาธงครูจกก็มาเรียก ให้ไปสังเกตน้องๆที่เป็นเด็กพิเศษแต่ละห้อง กลุ่มของดิฉันสังเกตน้องอนุบาล 2/1 แต่น้องยังไม่มาเลย ซึ่งมีพี่แบมเป็นนักศึกษาฝึกสอนห้องนี้ พี่แบมก็เล่าให้ฟังว่ามีน้องที่เป็นเด็กพิเศษอยู่ 2 คน คือน้องริลลี่กับน้องปราย
     
       อาจารย์ที่โรงเรียนเกษมพิทยาให้การเตรียมความพร้อมในการบรรยาย เช่น เอกสาร สไลด์ วีดิทัศน์มีตัวอย่างให้ดู ทำให้เข้าใจง่าย อาจารย์ก็เป็นกันเอง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถามเกี่ยวกับเด็กพิเศษ  การเรียนโปรเจค และการเขียนสารนิทัศน์ เป็นกันเองและให้ความรู้ได้ละเอียดดีมาก


สมาชิก อนุบาล 2/1





พฤติกรรมจาการสังเกต

น้องปราย : น้องปรายเป็นเด็กพิเศษกลุ่มดาวน์ซินโดรม อายุ 6 ขวบกว่าๆ  ครูแบมเล่าว่าเคยเรียนที่โรงเรียนแสงสว่าง เป็นเด็กเก่ง ฉลาด ทำกิจวัตรประจำวันได้ วันนี้อนุบาล 2/1 นำเสนอโปรเจค "แมว" น้องปลายได้รับมอบหมายพูดส่วนประกอบของแมว ช่วงที่เพื่อนนำเสนองานน้องปลายหยิบชายกระโปรงตัวเองมาเช็ดปาก  การนำเสนองานมีครูคอยบอกอยู่ข้างๆน้องสามารถพูดได้ชัด เป็นเป็นร่าเริงแจ่มใส เล่นกับเพื่อนได้ ดิฉันเข้าไปนั่งเล่นกับน้อง ถามน้องว่าชื่ออะไร น้องบอกว่าปลาย น้องถามดิฉันและเพื่อนๆว่าชื่ออะไร ดิฉันและเพื่อนๆก็บอกชื่อน้องไป น้องชมว่าสวย และยังให้ไอเลิฟยูด้วย












น้องริลลี่ :  เป็นเด็กพิเศษกลุ่มดาวน์ซินโดรมเกิดจากพ่อแม่ทำกิ๊ฟ  อายุ 6 ขวบกว่าๆ เรียนซ้ำชั้นมาแล้ว 1ปี น้องยังเหมือนเด็ก ช่วงที่นำเสนองานจะนั่งนิ่งๆ แล้วพูดเสียงดังขึ้นมา  ไม่รู้ว่าน้องพูดอะไร เพราะน้องพูดไม่เป็นคำ ครูนกจึงพูดขึ้นว่า ริลลี่อย่าเสียงดัง ริลลี่ก็หยุด นำเสนองานครูนกคอยยืนประกบอยู่ข้างๆ ครูพาพูดทีละคำ  น้องยังพูดเป็นคำไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่น้องจะติดครูนกมาก น้องยังบอกความต้องการยังไม่เป็นประโยค เช่น อยากไปเข้าห้องน้ำ ก็บอกว่า ปวดอึ












กิจกรรมเข้าแถวหน้าเสาธงในตอนเช้า






อนุบาล 1 พูดความดี





กิจกรรมเต้นแอโรบิก
เพื่อนๆดูสนุกสนานกว่าเด็กๆอีกค่ะ55555












ห้องอบรม






เอกสารประกอบการฟังบรรยาย




ตัวอย่างการเขียนสารนิทัศน์ 5 ประเภท


สารนิทัศน์ประเภทที่ 1 การบรรยายเกี่ยวกับเรื่องรางหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับ 
เช่น การสอนแบบโครงการ




สารนิทัศน์ประเภทที่ 2 การสังเกตพัฒนาการเด็ก



สารนิทัศน์ประเภทที่ 3 พอร์ตโฟลิโอ




สารนิทัศน์ประเภทที่ 4 ผลงานเด็กรายบุคลและกลุ่ม








สารนิทัศน์ประเภทที่ 5 การสะท้อนตนเองของเด็ก / ของครู / ผู้ปกครอง




นักเรียน




ครูผู้สอน




ผู้ปกครอง




Project "แมว"

เด็กๆอนุบาล 2/1 น่ารัก แมวน้อยเต็มห้องเลยค่ะ 55555
























ภาพแห่งความประทับใจ








อาหารอร่อยมากค่ะ









การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สำหรับวันนี้ก็ได้ประสบการณ์เยอะมาก ได้เห็นบรรยากาศการเรียนการสอนของเด็กพิเศษจริงๆ พี่ๆวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องเด็กพิเศษ การเรียนโปรเจค การดูพัฒนาการเด็กพิเศษ รวมถึงการเขียนสารนิทัศน์ 5 ประเภทได้ละเอียด ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ก็จะนำไปปรับใช้ในอนาคตค่ะ


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : วันนี้ก็ดีใจที่ได้มาสังเกตการเรียนการสอนของโรงเรียนเกษมพิทยา  เด็กๆน่ารัก ครูพี่เลี้ยงเป็นกันเอง พี่นักศึกษาฝึกสอน ให้ความรู้และเป็นกันเองดี  มีเอกสารประกอบการบรรยาย อาหารพักเบรคและอาหารมื้อเที่ยงจัดวางเป็นระเบียบร้อยดีและอร่อยด้วยก็ประทับใจมาก

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือทางโรงเรียนได้ดีมาก กล้าแสดงออกดี โดยเฉพาะช่วงเต้นแอโรบิกในตอนเช้า นึกว่าจะไม่มีคนกล้า แต่เพื่อนๆสามารถทำได้ ทุกคนสำรวมกิริยา แต่งกายเรียบร้อยดีมาก

ประเมินอาจารย์  : อาจารย์คอยให้คำแนะนำนักศึกษาดีมาก   เป็นตัวอย่างการแสดงออกที่ดีและรวมทั้งคอยดูแลเป็นห่วงนักศึกษาในการสังเกตเด็กๆในครั้งนี้




วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันพุธที่ 15 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 (เวลา08.30-12.30น.)


***ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง
📖📝

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันพุธ  ที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (เวลา 08.30-12.30)



เนื้อหาที่เรียน

         ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่อาจารย์ไปศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา แล้วก็เรียนเนื้อหาเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และ ออทิสติก 
   


 6.เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) 
เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. 



  • เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) 
  • เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง 
  • ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย 
สาเหตุของ LD



    ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
  • หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
  • อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
  •  ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน

  • อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
  • อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
  • เดาคำเวลาอ่าน
  • อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
  • อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
  • ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  • ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
  • เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
  • เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
  • เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
  • เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
  • ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  • เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
  • เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน 
  •      เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
  • เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
  • เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
  • เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  • จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
  • สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
  • เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
  • เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
  • ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง



3. ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
  • ตัวเลขผิดลำดับ
  • ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
  • ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
  • แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
  • ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
  • นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
  • คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
  • จำสูตรคูณไม่ได้
  • เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
  • ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
  • ตีโจทย์เลขไม่ออก
  • คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
  • ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
4. หลายๆ ด้านร่วมกัน

      อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
  • แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
  • มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  • เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
  • งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
  • การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
  • สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  • เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  • ทำงานช้า
  • การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
  • ฟังคำสั่งสับสน
  • คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
  • ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  • ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
  • ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
  • ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอo
7. ออทิสติก (Autistic) 

  • หรือ ออทิซึ่ม (Autism) 
  • เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
  • ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น 
  • ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม 
  • เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
  • ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต


"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 

  • ทักษะภาษา
  • ทักษะทางสังคม
  • ทักษะการเคลื่อนไหว 
  • ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่ 
ลักษณะของเด็กออทิสติก 
  • อยู่ในโลกของตนเอง
  • ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  • ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
  •  ไม่ยอมพูด
  • เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา
ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
  • ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
  • ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
  • ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
  • ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น
ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
  • มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
  • ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  • พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
  • ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
  • มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
  • ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  • พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
  • ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
  • มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
  • มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
  • มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
  • สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ
พฤติกรมการทำซ้ำ
  • นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  • นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  • ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
  • ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  • การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
  • การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ

ไม่สามารถวินิจฉัยให้เข้าข่ายโรคใดๆได้
         ออทิสติกเทียม
  • ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ 
  • ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
  • ดูการ์ตูนในทีวี


Autistic Savant
  • กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) 
  • จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking) 
  • กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) 
  • จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)




บรรยากาศการเรียนการสอนในวันนี้









เพื่อนๆออกมาทดสอบการอ่าน




ดู VDO  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเขียน ของมหาวิทยาลัยมหิดล




เพื่อนๆได้นำเค้กมาเซอร์ไพร์อาจารย์ 
หนูก็ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆนะคะ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) 
       ด้านการอ่าน ครูต้องเข้าใจในกลุ่มอาการของเด็ก เด็กที่มีความบกพร่องด้านการอ่าน จะอ่านตกหล่นหรืออ่านเพียงคำใดคำหนึ่ง  ครูควรให้เวลาในการอ่านคอยสอนการอ่านเด็กอย่างใกล้ชิด  
       ด้านการเขียน  เด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเขียนสลับตำแหน่ง ครูก็คอยประกบการเขียนเด็กอย่างใกล้ชิด
       ด้านการคิดคำนวณ เด็กจะไม่เข้าใจในการทดเลข  ตัวเลขผิดลำดับ  แต่ในเรื่องวันเาลาเด้กกลุ่มนี้จะจำไดแม่นมาก



การประเมินผล
ประเมินตนเอง : การเรียนในวันนี้ก็มีเข้าใจเนื้อหาในเรื่อง ความบกพร่องการเรียนรู้ เด็ก L.D สนุกกับการเรียนที่อาจารย์สอน มีตัวอย่าง VDO ในกลุ่มอาการต่างๆให้ดู  ทำให้เข้าใจง่าย  และช่วงหลังๆก็
ง่วงนอนมากๆ เนื่องจากกิยาแก้ไข้หวัด

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี  ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน เช่น ออกไปอ่านประโยคใน Poperpoint หน้าห้องเรียน ออกมาเลียนแบบกลุ่มอาการเด็กพิเศษ และตอบคำถามต่างๆ เป็นต้น

ประเมินอาจารย์ : ชอบที่อาจารย์เป็นกันเอง ไปพบเจอเรื่องใหม่ๆอาจารย์ก็จะเล่าให้นักศึกษาฟัง ร่วมถึงประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กพิเศษ ทำให้การเรียนน่าเรียนค่ะ