วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันพุธ  ที่ 19 เมษายน พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30)


เนื้อหาที่เรียน 
      
เขียนแผนการจัดประสบการณ์เด็กที่มีความต้องการพิเศษ


บรรยากาศในห้องเรียน





ตัวอย่างการเขียนแผนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ



แบบฟอร์มการเขียนแผน


ตัวอย่างผังกราฟฟิก

ในหลวงรัชกาลที่ 9























พิซซ่า
























ผีเสื้อ




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-การเขียนแผนให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของเด็กแต่ละกลุ่มอาการ จะช่วยพัฒนาหรือส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : สำหรับการเรียนในวันนี้ก็เข้าใจการเขียนแผน สามารถเขียนเองได้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนหลายคนตั้งใจเรียนดี ช่วงที่อาจารย์ถามก็มีการสนทนาพูดคุยดี
ประเมินอาจารย์ : วันนี้ก็เห็นความตั้งใจที่อาจารย์จะมาสอนเขียนชาร์จ มีการเตรียมอุปกรณ์มามากมาย แต่เนื่องจากเวลาน้อย ก็ยังไม่ได้ทำ สำหรับเรื่องราวที่อาจารย์กำลังไม่สบายใจ หนูเป็นกำลังใจให้นะคะ ขอให้เรื่องราวร้ายๆผ่านพ้นไปเร็วๆ ขอให้มีแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต ยังมีลูกศิษย์หลายคนเป็นกำลังใจให้อาจารย์อยู่ อาจารย์สู้ๆนะคะ อยู่กับพวกหนูจะอยู่เคียงข้างอาจารย์ตลอดไป
บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันพุธ ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)



***วันสงกรานต์***


วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันพุธ ที่ 5 เดือนเมษายน พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)


ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง


วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันพุธ ที่ 29 เดือนมีนาคม พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)

เนื้อหาที่เรียน

          เรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)


แผน IEP

  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP

  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
  • เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว

      กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
  • น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
  • น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
  • น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร 
  • พฤติกรรมอะไร 
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด) 
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ใคร
อะไร
เมื่อไหร่ / ที่ไหน
ดีขนาดไหน

3. การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
      ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล 
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**



ตัวอย่างการบันทึกการสังเกตพฤติกรรม













กิจกรรมมือของฉัน






นิ้วมือของฉัน






นิ้วมือของเพื่อน







กิจกรรมวงกลมหลากสี









เอกสารประกอบการเรียน





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-เมื่อเด็กทำกิจกรรมในชั้นเรียน ครูผู้สอน  สังเกตพฤติกรรมเด็ก ควรจดบันทึกเป็นระยะ เมื่อที่สามารถจดพฤติกรรมได้ละเอียดตามที่เด็กทำ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : สำหรับการเรียนในวันนี้ก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอน สนุกกับการเรียน ชอบกิจกรรมวาดนิ้วมือ สนุกสนานดีช่วงที่ตามหาลายนิ้วมือเพื่อน  เพื่อนตามหานิ้วมือเรา ทั้งที่นั่งข้างๆกัน เพื่อนทายว่าเป็นของเพื่อนอื่น แอบนั่งขำเบาๆ55555555555
ประเมินเพื่อน : การเรียนในวันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี รหว่างทำกิจกรรมตามหาลายนิ้วมื้อทุกคนก็สนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์อธิบายเนื้อหาละเอียดดี มีการย้ำคำที่สำคัญๆ แล้วอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เข้าใจง่ายขึ้น




วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันพุธ  ที่ 22 เดือนมีนาคม พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)


เนื้อหาที่เรียน

        ก่อนเข้าสู่เนื้อหาสาระอาจารย์และนักศึกษาได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียน เพื่อหาทางสู่การแก้ไขให้ดีขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่ทำให้เราได้ระบายความในใจ ที่เป็นประเด็นปัญหา หลังจากคุยเสร็จก็เริ่มเรียนเนื้อหาในสัปดาห์นี้ เรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ในส่วนของเนื้อหาจะมีวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษ อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาโยใช้ Powerpoint โดยมีตัวอย่าง มีรูปภาพประกอบการบรรยาย และอาจารย์ได้ยกสถานการการณ์ให้เพื่อนลองเป็นเด็กพิเศษแล้วให้นักศึกษาลองแก้ไขปัญหา เช่น น้องเอเป็นเด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม จะมีวิธีสอนน้องใส่ถุงเท้าแบบวิธีย่อยงานอย่างไร


ก่อนเข้าสู่บทเรียน







จำลองการช่วยเหลือเด็กพิเศษ












ตัวอย่างการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร
สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ






หนังสือการเขียนสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย



เอกสารประกอบการเรียน






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สำหรับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษในขั้นเบื้องต้น ให้เด็กได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเองได้นั้นก็ถือว่าเก่งแล้ว
- การกระตุ้นการเลียนแบบ 
ตัวอย่างสถานการณ์ การเล่นทราย น้องบีเป็นเด็กพิเศษกลุ่มดาวน์ซินโดรม เพื่อนๆต่างเล่นทรายกันอย่างสนุกสนาน แต่น้องบีหลบอยู่ ไม่กล้ามาเล่นทรายกับเพื่อน ๆ 
การแก้ไขพฤติกรรม ให้ครูเข้าไปเรียกเด็ก  น้องบี พร้อมสัมผัสตัวเด็ก จับมือ ไปเล่นทรายกับเพื่อนไหมลูก พูดซ้ำกระตุ้นความสนใจเด็ก ครูจูงมือน้องบีพร้อมถืออุปกรณ์การเล่นทรายไปหากลุ่มเพื่อนๆ  ครูนั่งเล่นทรายเป็นเพื่อนพร้อมจับมือพาน้องบีเล่นสักพักให้คุ้นชินกับเพื่อนๆ จากนั้นครูค่อยๆถอยออก


การประเมินผล  
ประเมินตนเอง : สำหรับการเรียนในวันนี้ ก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์เล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง หนูรู้สึกว่ามันทำให้เราตื่นตัว พร้อมที่จะเรียน ถ้าเรียนเนื้อหาเลย บางครั้งหนูรู้สึกว่าง่วงนอน เพราะวิชานี้เรียนในตอนเช้า วันนี้ก็จดบันทึกเพิ่มเติมส่วนที่อาจารย์อธิบายหรือยกตัวอย่าง การเรียนวันนี้ก็สนุกสนานมากค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนคงรู้สึกอึดอัดกับปัญหาการเรียนอีกวิชาหนึ่งมาก เนื่องจากไม่ได้รับความยุติธรรม ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์  ช่วงที่เรียนทุกคนก็ตั้งใจเรียนดี ให้ความร่วมมือเมื่ออาจารย์เรียกทำกิจรรม

ประเมินอาจารย์ : ในทัศนะคติส่วนตัวหนูรู้สึกเหมือนอาจารย์เป็นที่ปรึกษา เวลามีปัญหาอาจารย์จะรับฟังเรื่องราวและให้คำแนะนำแก่พวกหนูอยู่เสมอ สำหรับการสอนก็เข้าใจเนื้อหา เพราะการสอนของอาจารย์มีตัวอย่างและอาจารย์ก็จะอธิบายเพิ่ม