วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 
วันพุธ  ที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)





ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 
วันพุธ  ที่ 25 เดือนมกราคม พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)


เนื้อหาที่เรียน

        อาจารย์อธิบายเนื้อหาเรื่อง  เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders) กับ  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments) มี powerpoint  ประกอบการสอน  อาจารย์มีตัวอย่างให้ดูเพิ่มด้วย เช่น VDO รูปภาพประกอบเนื้อหา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย



เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
  (Children with Speech and Language Disorders)    

  
        เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
ซึ่งมีความบกพร่องดังนี้ 
          1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) 
          2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
          3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)

          ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมาย ของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้  ประกอบด้วย ดังนี้

          1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)  
          2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia

          เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
 (Children with Physical and Health Impairments) 


  • อ่านไม่ออก (alexia) 
  • เขียนไม่ได้ (agraphia ) 
  • สะกดคำไม่ได้
  • ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
  • จำคำหรือประโยคไม่ได้
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
โรคลมชัก (Epilepsy)

            เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง  มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน

           1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
           2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
           3.อาการชักแบบ Partial Complex
           4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
           5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)

ซี.พี. (Cerebral Palsy) 
            ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ

           1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
           2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)
           3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy )
           เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่ จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

  • โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) 
  • โปลิโอ (Poliomyelitis) 
  • โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta)
  • โรคศีรษะโต (Hydrocephalus)
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) 
  • แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) 






สนทนาพูดคุยก่อนเรียน




อาจารย์ตั้งใจสอนมากเลยค่ะ





นักศึกษาตั้งใจเรียนเช่นกันค่ะ





เอกสารประกอบการเรียนสัปดาห์นี้





ตัวอย่างความบกพร่องทางภาษา





ตัวอย่างเด็กที่มีอาการชัก


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

- ในการปฐมพยาบาลขั้นเบื้องต้นในกรณีเด็กมีอาการชัก  ให้จับเด็กนอนตะแครงขวาบนพื้นที่ไม่มีออกจากปากของแข็ง ไม่จับตัวเด็กขณะชัก หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศรีษะ  ดูดน้ำลาย เสมหะ  เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง  จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก ทำการช่วยหายใจ โดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ฟังอาจารย์อธิบาย จดบันทึกข้อความที่อาจารย์อธิายเพิ่ม  เน้นคำภาษาอังกฤษที่
อาจารย์บอก

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนตั้งใจเรียนดี เมื่ออาจารย์ถามก็มีการตอบโต้  เห็นเพื่อนที่นั่งใกล้ๆกันจดบันทึกข้อความเพิ่มด้วย

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา การสอนมีตัวอย่างประกอบ ใจดี เป็นกันเองกับนักศึกษาดีค่ะ


วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 

วันพุธ ที่ 18 เดือนมกราคม พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30น.)



เนื้อหาที่เรียน 

          บรรยากาศในห้องเรียนในวันนี้ เพื่อนๆมาเรียนกันครบทุกคน เรื่องที่เรียนในวันนี้ คือ ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหา พร้องยกตัวอย่างเป็นรูปภาพ วิดีโอประกอบการเรียน และกิจกรรมคือไหว้ครู


                                        ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
          ความต้องการพิเศษครอบคลุมลักษณะหลากหลายประการซึ่งล้วนส่งผลกระทบในทางลบต่อชีวิตของเด็ก โดยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความต้องการพิเศษทางร่างกาย (Physical disabilities) และความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ (Learning disabilities) แม้ว่าลักษณะทั้ง 2 ประเภทนี้มักจะซ้อนทับกันหรือเกิดขึ้นร่วมกันก็ตาม

           ความต้องการพิเศษทางด้านร่างกาย (Physical disabilities) การขาดความสามารถทางร่างกายของเด็กที่มักพบ เช่น การเดินช้า (Delayed walking) ความบกพร่องทางการได้ยิน (Deafness) การสูญเสียการมองเห็น (Visual impairment) โดยมีโรคสมองพิการ (Celebral Palsy:CP) เป็นลักษณะความบกพร่องทางร่างกายที่พบได้มากที่สุดในเด็ก ทั้งนี้ประมาณ 2 ใน 1,000 ของเด็กแรกเกิดในประเทศพัฒนาแล้วจะเกิดมาพร้อมกับโรคสมองพิการ โรคสมองพิการเป็นชื่อที่ใช้เรียกโดยรวมของภาวะบก พร่องของระบบการเคลื่อนไหวของร่างกายแบบไม่ทวีความรุนแรง (non-progressive motor impairment conditions) ที่มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ หรือความผิดปกติของสมองซึ่งเกิดขึ้นในระยะแรกของพัฒนาการ เด็กในลักษณะนี้จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการปรับตัว (Adaptive equipment) หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ (Assistive technology) เช่น อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเคลื่อนที่ รวมถึงระบบสนับสนุนการพูดของคนที่มีความบกพร่องให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (Augmentative communication systems) เช่น ภาษามือ (Sign language) และกระดานภาพ (Picture board) ซึ่งสามารถช่วยในการพัฒนาทักษะทางสังคม ภาษา การเล่นร่วมกับผู้อื่น และการเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กได้อย่างอิสระ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ ซึ่งอาจไม่ได้รับการพิจารณาเป็นความต้องการพิเศษทางร่างกาย แต่อาจเรื้อรังจนกระทั่งสามารถมีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กบ้างไม่มากก็น้อย เช่น อาจทำให้เด็กต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือขัดขวางเด็กจากการทำกิจกรรมทางกายภาพ เป็นต้น โดยตัวอย่างของความผิดปกติดังกล่าวนี้ เช่น โรคหอบหืด และโรคเบา หวาน
         
             ความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ (Learning disabilities) ความบกพร่องทางสติปัญญาอาจเกิดจากสาเหตุทางพันธุ กรรม การติดเชื้อก่อนกำเนิด การได้รับบาดเจ็บทางสมอง การติดเชื้อในสมอง หรือแม้กระทั่งไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เช่นเดียวกับการขาดความสามารถทางร่างกาย ความบกพร่องทางสติปัญญานั้นก็ประกอบไปด้วยลักษณะความผิดปกติหลากหลายประการ ทั้งนี้ลักษณะที่แพร่หลายและเป็นที่รู้จักที่สุด คือ กลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อตัวเด็ก เช่น ก่อให้เกิดปัญหาในการพูดและสื่อสาร ซึ่งอาจเกิดขึ้นร่วมกันกับปัญหาทางพฤติกรรม หรืออาจนำไปสู่ปัญหาทางพฤติกรรม นอกจากนี้ ปัญหาทางร่างกายอื่นๆก็อาจเกิดขึ้นร่วมกันกับอาการดาวน์ได้เช่นกัน

อ้างอิงจาก  http://taamkru.com/th/




บรรยากาศการเรียนการสอน






ตัวอย่างเด็กที่มีความสามารถพิเศษ






เอกสารประกอบการเรียนในวันนี้






เพื่อนๆกลุ่ม102 ร่วมใจกันนำพวงมาลัยไหว้อาจารย์







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

- ประเภทของเด็กพิเศษมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  ซึ่งครูผู้สอนจำเป็นต้องเข้าใจในพัฒนาการของแต่ละประเภท เพื่อให้เด็กได้เรียนเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป เพียงแค่ครูเข้าใจและให้เวลาเด็กพิเศษในการเรียน เด็กๆก็สามารถเรียนรู้ได้ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เด็กมีความบกพร่องทางสติปัญญา ครูจำเป็นต้องให้เวลาในการเรียนมากขึ้น  เมื่อเด็กทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับเพื่อนในห้องเรียน


การประเมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้ก็จดบันทึก ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายดีค่ะ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาเรียนกันครบทุกคน ช่วงเรียนเพื่อนๆก็ช่วนกันสนทนาโต้ตอบอาจารย์ดี มีความสนุกสนานในห้องเรียน  วันนี้ทุกคนน่ารักดี ให้ความร่วมมือในการเตียมไหว้ครู

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายประเภทของเด็กพิเศษได้ละเอียดดี มีการยกตัวอย่าง เปิดวิดีโอให้ดู ทำให้เข้าใจง่าย สุดท้ายเนื่องในโอกาสวันครู หนูขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง เป็นคุณครูที่อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของพวกหนูไปนานๆนะคะ 





วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
วันพุธ ที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560 เวลา 08.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
         สำหรับการเรียนในวันแรก อาจารย์ก็ได้พูดถึงเกี่ยวกับการเรียนในรายวิชานี้และคุยเรื่องเวลาเข้าเรียน วันนี้เรียนในเรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์ได้ถามเกี่ยวกับความรู้เดิม เนื่องจากเราเคยเรียนมาแล้ว ก็มีเพื่อนๆตอบได้บ้างเล็กน้อย อาจารย์ก็เลยทบทวนความรู้เดิมให้ เพื่อให้เรามีความรู้เพิ่มขึ้น 



บรรยากาศการเรียนการสอน






กิจกรรม Gesell Drawing Test





เอกสารที่ใช้ประกอบการเรียน





ตัวปั๊มเข้าเรียนเทอมนี้






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- พฤติกรรมของเด็กพิเศษ เรามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในห้องเรียนเมื่อต้องสอนเด็กพิเศษหรือต้องพบกับผู้ปกครองเด็กพิเศษ เมื่อเรารู้จักอาการของเด็ก เช่น ออทิสติก  ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว เพื่อให้แนวทางในการเรียนการสอนบรรลุไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือเพื่อปรับปรุง พัฒนาการเรียนของเด็กๆให้ดียื่งขึ้น



การประเมินผล

ประเมินตนเอง  : วันนี้ก็มาเรียนปกติ  มีเพื่อนมาก่อน 2 คน  รู้สึกความรู้เดิมหายไปเยอะ จำอาการเด็กพิเศษไม่ค่อยได้ พยายามนึก บางโรคเพื่อนพูดถึงก็ลืมไปเลยก็มี วันนี้อาจารย์สอนก็เข้าใจในเนื้อหาดี

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาเรียนเกือบจะครบ มีส่วนน้อยที่ยังไม่มา ภาพรวมวันนี้เพื่อนก็ช่วยๆกันตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษาดี  ก็เตรียมการสอนมาดี มีการยกตัวอย่างเหตุการณ์ประกอบ ทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาง่าย