วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 

วันพุธ ที่ 18 เดือนมกราคม พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30น.)



เนื้อหาที่เรียน 

          บรรยากาศในห้องเรียนในวันนี้ เพื่อนๆมาเรียนกันครบทุกคน เรื่องที่เรียนในวันนี้ คือ ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหา พร้องยกตัวอย่างเป็นรูปภาพ วิดีโอประกอบการเรียน และกิจกรรมคือไหว้ครู


                                        ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
          ความต้องการพิเศษครอบคลุมลักษณะหลากหลายประการซึ่งล้วนส่งผลกระทบในทางลบต่อชีวิตของเด็ก โดยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ความต้องการพิเศษทางร่างกาย (Physical disabilities) และความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ (Learning disabilities) แม้ว่าลักษณะทั้ง 2 ประเภทนี้มักจะซ้อนทับกันหรือเกิดขึ้นร่วมกันก็ตาม

           ความต้องการพิเศษทางด้านร่างกาย (Physical disabilities) การขาดความสามารถทางร่างกายของเด็กที่มักพบ เช่น การเดินช้า (Delayed walking) ความบกพร่องทางการได้ยิน (Deafness) การสูญเสียการมองเห็น (Visual impairment) โดยมีโรคสมองพิการ (Celebral Palsy:CP) เป็นลักษณะความบกพร่องทางร่างกายที่พบได้มากที่สุดในเด็ก ทั้งนี้ประมาณ 2 ใน 1,000 ของเด็กแรกเกิดในประเทศพัฒนาแล้วจะเกิดมาพร้อมกับโรคสมองพิการ โรคสมองพิการเป็นชื่อที่ใช้เรียกโดยรวมของภาวะบก พร่องของระบบการเคลื่อนไหวของร่างกายแบบไม่ทวีความรุนแรง (non-progressive motor impairment conditions) ที่มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ หรือความผิดปกติของสมองซึ่งเกิดขึ้นในระยะแรกของพัฒนาการ เด็กในลักษณะนี้จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการปรับตัว (Adaptive equipment) หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ (Assistive technology) เช่น อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเคลื่อนที่ รวมถึงระบบสนับสนุนการพูดของคนที่มีความบกพร่องให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (Augmentative communication systems) เช่น ภาษามือ (Sign language) และกระดานภาพ (Picture board) ซึ่งสามารถช่วยในการพัฒนาทักษะทางสังคม ภาษา การเล่นร่วมกับผู้อื่น และการเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กได้อย่างอิสระ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ ซึ่งอาจไม่ได้รับการพิจารณาเป็นความต้องการพิเศษทางร่างกาย แต่อาจเรื้อรังจนกระทั่งสามารถมีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กบ้างไม่มากก็น้อย เช่น อาจทำให้เด็กต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือขัดขวางเด็กจากการทำกิจกรรมทางกายภาพ เป็นต้น โดยตัวอย่างของความผิดปกติดังกล่าวนี้ เช่น โรคหอบหืด และโรคเบา หวาน
         
             ความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ (Learning disabilities) ความบกพร่องทางสติปัญญาอาจเกิดจากสาเหตุทางพันธุ กรรม การติดเชื้อก่อนกำเนิด การได้รับบาดเจ็บทางสมอง การติดเชื้อในสมอง หรือแม้กระทั่งไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เช่นเดียวกับการขาดความสามารถทางร่างกาย ความบกพร่องทางสติปัญญานั้นก็ประกอบไปด้วยลักษณะความผิดปกติหลากหลายประการ ทั้งนี้ลักษณะที่แพร่หลายและเป็นที่รู้จักที่สุด คือ กลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อตัวเด็ก เช่น ก่อให้เกิดปัญหาในการพูดและสื่อสาร ซึ่งอาจเกิดขึ้นร่วมกันกับปัญหาทางพฤติกรรม หรืออาจนำไปสู่ปัญหาทางพฤติกรรม นอกจากนี้ ปัญหาทางร่างกายอื่นๆก็อาจเกิดขึ้นร่วมกันกับอาการดาวน์ได้เช่นกัน

อ้างอิงจาก  http://taamkru.com/th/




บรรยากาศการเรียนการสอน






ตัวอย่างเด็กที่มีความสามารถพิเศษ






เอกสารประกอบการเรียนในวันนี้






เพื่อนๆกลุ่ม102 ร่วมใจกันนำพวงมาลัยไหว้อาจารย์







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

- ประเภทของเด็กพิเศษมีลักษณะแตกต่างกันออกไป  ซึ่งครูผู้สอนจำเป็นต้องเข้าใจในพัฒนาการของแต่ละประเภท เพื่อให้เด็กได้เรียนเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป เพียงแค่ครูเข้าใจและให้เวลาเด็กพิเศษในการเรียน เด็กๆก็สามารถเรียนรู้ได้ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เด็กมีความบกพร่องทางสติปัญญา ครูจำเป็นต้องให้เวลาในการเรียนมากขึ้น  เมื่อเด็กทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับเพื่อนในห้องเรียน


การประเมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้ก็จดบันทึก ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายดีค่ะ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาเรียนกันครบทุกคน ช่วงเรียนเพื่อนๆก็ช่วนกันสนทนาโต้ตอบอาจารย์ดี มีความสนุกสนานในห้องเรียน  วันนี้ทุกคนน่ารักดี ให้ความร่วมมือในการเตียมไหว้ครู

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายประเภทของเด็กพิเศษได้ละเอียดดี มีการยกตัวอย่าง เปิดวิดีโอให้ดู ทำให้เข้าใจง่าย สุดท้ายเนื่องในโอกาสวันครู หนูขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง เป็นคุณครูที่อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของพวกหนูไปนานๆนะคะ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น