วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 
วันพุธ  ที่ 25 เดือนมกราคม พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)


เนื้อหาที่เรียน

        อาจารย์อธิบายเนื้อหาเรื่อง  เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders) กับ  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments) มี powerpoint  ประกอบการสอน  อาจารย์มีตัวอย่างให้ดูเพิ่มด้วย เช่น VDO รูปภาพประกอบเนื้อหา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย



เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
  (Children with Speech and Language Disorders)    

  
        เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
ซึ่งมีความบกพร่องดังนี้ 
          1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) 
          2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
          3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)

          ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมาย ของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้  ประกอบด้วย ดังนี้

          1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)  
          2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia

          เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
 (Children with Physical and Health Impairments) 


  • อ่านไม่ออก (alexia) 
  • เขียนไม่ได้ (agraphia ) 
  • สะกดคำไม่ได้
  • ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
  • จำคำหรือประโยคไม่ได้
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
โรคลมชัก (Epilepsy)

            เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง  มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน

           1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
           2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
           3.อาการชักแบบ Partial Complex
           4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
           5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)

ซี.พี. (Cerebral Palsy) 
            ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ

           1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
           2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)
           3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy )
           เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่ จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

  • โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) 
  • โปลิโอ (Poliomyelitis) 
  • โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta)
  • โรคศีรษะโต (Hydrocephalus)
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) 
  • แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) 






สนทนาพูดคุยก่อนเรียน




อาจารย์ตั้งใจสอนมากเลยค่ะ





นักศึกษาตั้งใจเรียนเช่นกันค่ะ





เอกสารประกอบการเรียนสัปดาห์นี้





ตัวอย่างความบกพร่องทางภาษา





ตัวอย่างเด็กที่มีอาการชัก


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

- ในการปฐมพยาบาลขั้นเบื้องต้นในกรณีเด็กมีอาการชัก  ให้จับเด็กนอนตะแครงขวาบนพื้นที่ไม่มีออกจากปากของแข็ง ไม่จับตัวเด็กขณะชัก หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศรีษะ  ดูดน้ำลาย เสมหะ  เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง  จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก ทำการช่วยหายใจ โดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ฟังอาจารย์อธิบาย จดบันทึกข้อความที่อาจารย์อธิายเพิ่ม  เน้นคำภาษาอังกฤษที่
อาจารย์บอก

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนตั้งใจเรียนดี เมื่ออาจารย์ถามก็มีการตอบโต้  เห็นเพื่อนที่นั่งใกล้ๆกันจดบันทึกข้อความเพิ่มด้วย

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา การสอนมีตัวอย่างประกอบ ใจดี เป็นกันเองกับนักศึกษาดีค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น