วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันพุธ ที่ 29 เดือนมีนาคม พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)

เนื้อหาที่เรียน

          เรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)


แผน IEP

  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP

  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
  • เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  • ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว

      กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
  • น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
  • น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
  • น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร 
  • พฤติกรรมอะไร 
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด) 
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ใคร
อะไร
เมื่อไหร่ / ที่ไหน
ดีขนาดไหน

3. การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
      ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล 
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**



ตัวอย่างการบันทึกการสังเกตพฤติกรรม













กิจกรรมมือของฉัน






นิ้วมือของฉัน






นิ้วมือของเพื่อน







กิจกรรมวงกลมหลากสี









เอกสารประกอบการเรียน





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-เมื่อเด็กทำกิจกรรมในชั้นเรียน ครูผู้สอน  สังเกตพฤติกรรมเด็ก ควรจดบันทึกเป็นระยะ เมื่อที่สามารถจดพฤติกรรมได้ละเอียดตามที่เด็กทำ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : สำหรับการเรียนในวันนี้ก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอน สนุกกับการเรียน ชอบกิจกรรมวาดนิ้วมือ สนุกสนานดีช่วงที่ตามหาลายนิ้วมือเพื่อน  เพื่อนตามหานิ้วมือเรา ทั้งที่นั่งข้างๆกัน เพื่อนทายว่าเป็นของเพื่อนอื่น แอบนั่งขำเบาๆ55555555555
ประเมินเพื่อน : การเรียนในวันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี รหว่างทำกิจกรรมตามหาลายนิ้วมื้อทุกคนก็สนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์อธิบายเนื้อหาละเอียดดี มีการย้ำคำที่สำคัญๆ แล้วอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เข้าใจง่ายขึ้น




วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันพุธ  ที่ 22 เดือนมีนาคม พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)


เนื้อหาที่เรียน

        ก่อนเข้าสู่เนื้อหาสาระอาจารย์และนักศึกษาได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียน เพื่อหาทางสู่การแก้ไขให้ดีขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่ทำให้เราได้ระบายความในใจ ที่เป็นประเด็นปัญหา หลังจากคุยเสร็จก็เริ่มเรียนเนื้อหาในสัปดาห์นี้ เรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ในส่วนของเนื้อหาจะมีวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษ อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาโยใช้ Powerpoint โดยมีตัวอย่าง มีรูปภาพประกอบการบรรยาย และอาจารย์ได้ยกสถานการการณ์ให้เพื่อนลองเป็นเด็กพิเศษแล้วให้นักศึกษาลองแก้ไขปัญหา เช่น น้องเอเป็นเด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม จะมีวิธีสอนน้องใส่ถุงเท้าแบบวิธีย่อยงานอย่างไร


ก่อนเข้าสู่บทเรียน







จำลองการช่วยเหลือเด็กพิเศษ












ตัวอย่างการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร
สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ






หนังสือการเขียนสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย



เอกสารประกอบการเรียน






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สำหรับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษในขั้นเบื้องต้น ให้เด็กได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเองได้นั้นก็ถือว่าเก่งแล้ว
- การกระตุ้นการเลียนแบบ 
ตัวอย่างสถานการณ์ การเล่นทราย น้องบีเป็นเด็กพิเศษกลุ่มดาวน์ซินโดรม เพื่อนๆต่างเล่นทรายกันอย่างสนุกสนาน แต่น้องบีหลบอยู่ ไม่กล้ามาเล่นทรายกับเพื่อน ๆ 
การแก้ไขพฤติกรรม ให้ครูเข้าไปเรียกเด็ก  น้องบี พร้อมสัมผัสตัวเด็ก จับมือ ไปเล่นทรายกับเพื่อนไหมลูก พูดซ้ำกระตุ้นความสนใจเด็ก ครูจูงมือน้องบีพร้อมถืออุปกรณ์การเล่นทรายไปหากลุ่มเพื่อนๆ  ครูนั่งเล่นทรายเป็นเพื่อนพร้อมจับมือพาน้องบีเล่นสักพักให้คุ้นชินกับเพื่อนๆ จากนั้นครูค่อยๆถอยออก


การประเมินผล  
ประเมินตนเอง : สำหรับการเรียนในวันนี้ ก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์เล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง หนูรู้สึกว่ามันทำให้เราตื่นตัว พร้อมที่จะเรียน ถ้าเรียนเนื้อหาเลย บางครั้งหนูรู้สึกว่าง่วงนอน เพราะวิชานี้เรียนในตอนเช้า วันนี้ก็จดบันทึกเพิ่มเติมส่วนที่อาจารย์อธิบายหรือยกตัวอย่าง การเรียนวันนี้ก็สนุกสนานมากค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนคงรู้สึกอึดอัดกับปัญหาการเรียนอีกวิชาหนึ่งมาก เนื่องจากไม่ได้รับความยุติธรรม ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์  ช่วงที่เรียนทุกคนก็ตั้งใจเรียนดี ให้ความร่วมมือเมื่ออาจารย์เรียกทำกิจรรม

ประเมินอาจารย์ : ในทัศนะคติส่วนตัวหนูรู้สึกเหมือนอาจารย์เป็นที่ปรึกษา เวลามีปัญหาอาจารย์จะรับฟังเรื่องราวและให้คำแนะนำแก่พวกหนูอยู่เสมอ สำหรับการสอนก็เข้าใจเนื้อหา เพราะการสอนของอาจารย์มีตัวอย่างและอาจารย์ก็จะอธิบายเพิ่ม 




บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันพุธ  ที่ 15 เดือนมีนาคม พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)

เนื้อหาที่เรียน
         ก่อนเข้าสู่เนื้อหาสาระ อาจารย์ได้นำตัวอย่างการเขียนแผนเต็มรูปแบบ หน่วยบ้าน มาให้นักศึกษาดูเพื่อเป็นตัวอย่างการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ จากนั้นก็บอกคะแนนสอบกลางภาคและพาเฉลยข้อสอบด้วย ต่อด้วยการเรียนเนื้อหาเรื่อง การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ก็มีสไลด์ มีรูปภาพ มี VDO ประกอบการบรรยาย เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น ในช่วงที่เรียนเนื้อหาอาจารย์ให้กิจกรรมวาดภาพดอกบัว โดยอาจารย์ได้บอกนักศึกษาล่วงหน้า ให้เตรียมดินสอยางลบและสีไม้ เพื่อวาดรูปให้เหมือนจริง ฝึกทักษะการสังเกตและการอธิบายจากสิ่งที่เห็นจากการวาด จากนั้นก็เรียนเนื้อหา ดู VDO การโชว์สามารถของเด็กพิเศษ และอาจารย์ก็มีตัวอย่างการบันทึกพฤติกรรมในแบบต่างๆให้ดู




ตัวอย่างการเขียนแผนหน่วยบ้าน





คะแนนสอบกลางภาค



เอกสารประกอบการเรียน





กิจกรรมวาดรูปดอกบัว



น้องช่อแก้วโชว์ความสามารถพิเศษ ตีขิม



ตัวอย่างการบันทึกพฤติกรรมเด็ก














บรรยากาศในห้องเรียน






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การศึกษาแบบเรียนรวม คือ เด็กสามารถเลือกเรียนโรงเรียนได้ โรงเรียนไม่มีสิทธิ์ปฎิเสธการรับนักเรียน
- การศึกษาแบบเรียนร่วม คือ โรงเรียนจะมีการคัดเลือกเด็กนักเรียน ก่อนจะเข้าเรียน
- การแก้ไขพฤติกรรมบางอย่างของเด็ก คือจะต้องแก้ไขทีละอย่าง เริ่มต้นจากพฤติกรรมที่หนัก เช่น น้องเอไปแย่งของเล่นเพื่อน จากนั้นก็ดีเพื่อนด้วย ควรแก้ไขพฤติกรรมการตีเพื่อนก่อน หลังจากนั้นก็ค่อยแก้ไขการแย่งของเล่น
- การบันทึกพฤติกรรมเด็ก ให้บันทึกเฉพาะสิ่งที่ดี  เขียนเฉพาะพฤติกรรมที่เห็นจริงๆ



การประเมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้ก็รอลุ้นคะแนนสอบ ตื่นเต้นเล็กน้อย พอรู้คะแนนก็พอใจกับคะแนน เพราะคิดว่าตั้งใจและทำดีที่สุดแล้ว  ช่วงที่อาจรย์อธิบายก็รู้ง่วงนอน  แต่ก็พยายามตั้งใจฟัง มีการจดบันทึกเมื่ออาจารย์อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายๆคนทำคะแนนสอบได้คะแนนอยู่ในระดับดี ช่วงที่เรียนเนื้อหา เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียน  เมื่ออาจารย์ถามมีการสนทนาโต้ตอบ ส่วนใหญ่ก็มีเตรียมเอกสารประกอบการเรียนมาด้วย

ประเมินอาจารย์ : วันนี้อจารย์ก็ได้แนะนำเกี่ยวกับการเขียนแผนการสอน นักศึกษาสอบถามเกี่ยวกับการเขียนแผนและการจัดกิจกรรม อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ  มีสไลด์ มีรูปภาพ มีตัวอย่าง VDO ประกอบการสอนเรื่องการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยก็ทำให้เข้าใจในบทเรียน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันพุธ  ที่ 8 เดือนมีนาคม พ.ศ.2560 (เวลา 08.30-12.30 น.)


***ในวันนี้อาจารย์ได้ทดสอบกลางภาควิชาการจัดประสบการณ์เรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันพุธ  ที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 (เวลา 08.30-12.30น.)


เนื้อหา
่เข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้เล่าประสบการณ์ในชีวิต เพื่อเป็นคติเตือนใจหรือเป็นตัวอย่างให้นักศึกษา ก็สนุกสนานกันทั่วหน้า วันนี้เรียนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) และเด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) 

8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
(Children with Behavioral and Emotional Disorders)
  • มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ 
  • แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น 
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  • เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
  • เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ 
  • ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

  • ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 
  • ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ

ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)

  • ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
  • ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
  • กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
  • เอะอะและหยาบคาย
  • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
  • ใช้สารเสพติด
  • หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 

  • จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
  • ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
  • งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
  • มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
  • พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
  • มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
  • หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
  • เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
  • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) 
  • การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) 
  • การปฏิเสธที่จะรับประทาน 
  • รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
  • โรคอ้วน (Obesity) 
  • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
  • ขาดเหตุผลในการคิด
  • อาการหลงผิด (Delusion)
  • อาการประสาทหลอน (Hallucination)
  • พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
สาเหตุ
  • ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
  • ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
  • ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
  • รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
  • มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน 
  • มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์ 
  • แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
  • มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
  • เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) 
  • เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum) 



เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)

ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ 
  • Inattentiveness
  • Hyperactivity
  • Impulsiveness
Inattentiveness (สมาธิสั้น) 
  • ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ 
  • ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ 
  • มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
  • เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ 
  • เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
  • ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
  • เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
  • เหลียวซ้ายแลขวา 
  • ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ 
  • อยู่ไม่สุข ปีนป่าย 
  • นั่งไม่ติดที่ 
  • ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
  • ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ 
  • ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ 
  • ไม่อยู่ในกติกา 
  • ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง 
  • พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง 
  • ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
  • ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง 
  • เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) 
  • ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
  • พันธุกรรม
  • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
  • สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
 อยู่ไม่สุข (Hyperactivity )สมาธิสั้น (Attention Deficit )


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน 
  • ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก 
  • ดูดนิ้ว กัดเล็บ
  • หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม 
  • เรียกร้องความสนใจ 
  • อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า 
  • ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
  • ฝันกลางวัน 
  • พูดเพ้อเจ้อ 
9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) 
  • เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  • เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
  • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
  • เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด


บรรยากาศการเรียนวันนี้




ดูVDO เด็กสมาธิสั้น





วันนี้ได้สีเมจิกด้วย




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สมมุติเมื่อเจอเหตุการณ์ที่เด็กที่มีความบกพร่องด้านอารมณ์ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว  ให้ครูเข้าไปห้ามเพื่อให้เด็กหยุดพฤติกรรมนั้น ไม่กล้าทำอีก


การประเมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้ได้ฟังอาจารย์เล่าก็ได้รับรู้เรื่องราวต่างๆมากมายเป็นประสบการณ์ให้พวกหนูได้เห็น เป็นบทเรียนให้เราได้คิด ในเนื้อหาที่เรียนก็ตั้งใจเรียนดี
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆหลายคนตั้งใจดี 
ประเมินอาจารย์ : ชอบที่อาจารย์เล่าประสบการณ์ อาจารย์สอนได้กระชับดี มีตัวอย่างให้เห็น


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันพุธ ที่ 22 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560  (เวลา 08.30-12.30 น.)


***สัปดาห์การสอบกลางภาคตามมหาวิทยาลัยกำหนด